ตั้งแต่เด็กๆ ฉันเคยอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักบินอาวกาศ
ตอนโตขึ้นมาหน่อย ก็อยากเป็นครูเหมือนแม่
แต่เพราะเห็นแม่ทำงานหนักมากๆทุกวัน ฉันจึงล้มเลิกความตั้งใจนั้นไป
เมื่อฉันอยู่ม.สี่ ได้เลือกที่จะมาเรียนสายศิลป์-คำนวน
อาชีพที่คนสายนี้เลือกได้ มีอยู่ไม่กี่สาขา และหนึ่งในนั้น อาชีพที่ฉันเลือกคือนักเศรษฐศาสตร์
นักเศรษฐศาสตร์คือผู้ที่ศึกษาในวิชาด้านเศรษฐศาสตร์
ซึ่งก็คือผู้ที่เข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งสาเหตุและผลกระทบต่อบุคคล สังคม เพื่อรู้แนวทางที่จำนำไปแก้ไขหรือประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่าง มีเหตุผล
โลกยุกใหม่นี้ ต้องการนักเศรษฐศาสตร์มากขึ้นจากในอดีต เพราะเศรษฐกิจเติบโตขึ้นมาก
และด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้น การติดต่อสื่อสารสะดวกมากขึ้น
ทำให้เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ซับซ้อนมากขึ้นเช่นกัน
นักเศรษฐศาสตร์จึงกลายเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมมาก
ซึ่งส่วนตัวของฉันเองคิดว่าการที่คนเรามีความรู้และเข้าใจความเป็นไปของเศรษฐกิจและกลไกของตลาดในชีวิตประจำวันทั้งแบบใกล้ตัวและทั้งระดับประเทศนั้น จะทำให้คนคนนั้นสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีความเป็นไปได้ในการที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจของตนมากขึ้น
1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำรายงาน และวางแผนงาน เพื่อส่งเสริม พัฒนา และแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายสินค้า และบริการ การลงทุน แรงงาน
2. ศึกษากรรมวิธีทั้งหมดที่เกี่ยวกับการดำรงชีพของมนุษย์ และจัดหาสิ่งต่างๆ มาบำบัด ความต้องการของมนุษย์ ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่อยู่อาศัย บริการ หรือการบันเทิง ตลอดจนการศึกษาสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือสิ่งที่ช่วยให้การพัฒนาเศรษฐกิจบรรลุผลสำเร็จ
3. ค้นหา วิธีเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ และข้อมูลทางเศรษฐกิจ รวบรวม และตีความข้อมูลดังกล่าว
4. จัดทำรายงาน และวางแผนงานตามผลการศึกษางานทางเศรษฐกิจ และตามข้อมูลที่ได้ ตีความและวิเคราะห์แล้ว
5. ให้คำปรึกษาแนะนำ แก่หน่วยงานประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมของเอกชนหรือหน่วยงานรัฐบาล ในเรื่องต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพของการทำงานการตลาดและปัญหาเกี่ยวกับการเงิน เป็นต้น
6. อาจเชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น เศรษฐกิจการเกษตร เศรษฐกิจการคลัง หรือเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การค้าระหว่างประเทศ การแรงงาน หรือราคา หรือเชี่ยวชาญในเรื่องการเก็บภาษีอากร หรือ การวิจัยตลาด และอาจมีชื่อเรียกตามความเชี่ยวชาญ
7. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย วางแผน เก็บรวบรวมข้อมูล ให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐและ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับที่มาของรายได้ รายจ่าย การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ การผลิต การบริโภคสินค้าและบริการ เพื่อการส่งเสริม พัฒนา และแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
นักบัญชี นักธุรกิจ นักบริหาร นักวิเคราะห์ระบบ นักวิจัย นักวางแผน นักการธนาคาร นักการเงิน นักการคลัง นักสถิติ นักการแรงงาน เจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน เจ้าหน้าที่หลักทรัพย์ เจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน เจ้าหน้าที่หลักทรัพย์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณ เจ้าหน้าที่บุคคล เจ้าหน้าที่แรงงานสัมพันธ์
อ้างอิง:http://www.unigang.com/Article/139
http://blog.eduzones.com/offy/4976
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C
http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/introduction%20to_economics/01.html