Read it your way

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปข้อสอบซัมเมทีฟม.5ขุนช้างขุนแผน



ข้อสอบซัมขุนช้างขุนแผน : เป็น choice 4 ตัวเลือก 30 ข้อ
1.       มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในแผ่นดิน สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒
|| สมัยพระรามาที่๒ อยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น และ เมื่อในเนื้อเรื่องกล่าวถึงพระพันวษาหรือกษัตริย์ในเรื่อง เป็นไปได้ว่าอาจหมายถึง พระรามาธิบดีที่๒
2.       จนกลายเป็นนิยายพื้นเมืองของเมืองสุพรรณบุรี  ต่อมาได้มีผู้นำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนเสภาเพื่อใช้ในการขับเสภา จึงทำให้เรื่องนี้เป็นที่นิยมและแพร่หลายมากขึ้น
3.       ครั้นเสียกรุงแล้วบางตอนก็สูญหายไป บางตอนยังมีต้นฉบับเหลืออยู่ เรื่องไม่ติดต่อกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.๒) โปรดเกล้าฯให้กวีหลายคนช่วยกันรวบรวมและแต่งขึ้นเรียกว่า เสภาหลวง
4.       ใน พ.ศ. ๒๔๖๐ หอพระสมุดวชิรญาณได้ชำระหนังสือเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนขึ้นเพราะมีเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนหลายฉบับ จึงกลายเป็นฉบับหอสมุดวชิรญาณ
5.       โดยมีสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพและกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา ทรงเป็นประธานการชำระได้คัดเลือกเอาสำนวนที่ดีที่สุดมารวมกันจนครบทุกตอน บางตอนก็ไม่สามารถทราบนาม
6.       หลังชำระแล้วเหลือ 43ตอน ตอนนั้นเป็นฉบับหอสมุดวชิรญาณ หลังจากนั้นมีการทำมาพิมพ์ใหม่ เป็นฉบับหอสมุดแห่งชาติ
7.       หนังสือเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ มีค่าทั้งในด้านความไพเราะและในลีลาการแต่ง ตลอดจนเค้าโครงเรื่อง
8.       ได้รับการยกย่องตามพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่๖ให้เป็นยอดของหนังสือประเภทกลอนเสภา และได้รับประทับราชลัญจกรรูปพระคเณศร์ไว้เป็นเครื่องหมายของการยกย่องนั้นด้วย
9.       เป็นวรรณคดีสำหรับอ่านกันเล่น เพื่อได้รับรสวรรณคดีเป็นเครื่องบันเทิงใจ และบางตอนยังเป็นหลักฐานที่ให้ความรู้ในเรื่องราวความเป็นอยู่ของผู้คนและบ้านเมืองในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
10.    ควรจำเนื้อเรื่องโดยละเอียด (ควรอ่านเรื่องย่อทั้งเรื่องด้วย), สถานที่, ลักษณะตัวละคร,ลำดับเนื้อเรื่อง, พิจารณาโวหาร+ภาพลักษณ์ แบบเข้าใจจนวิเคราะห์ได้
11.    ขุนช้างขุนแผนมีทั้งหมด12 ตอนรวมทุกๆผู้ประพันธ์
1. บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มี 4 ตอน คือ
 1.1 พลายแก้วได้นางพิม
 1.2 พลายแก้วได้เป็นขุนแผนและขุนช้างได้นางวันทอง
 1.3 ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างและได้นางแก้วกิริยา
 1.4 ขุนแผนพานางวันทองหนี
2. บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 3 มี 2 ตอน คือ
 2.1 ขุนช้างขอนางพิม
 2.2 ขุนช้างตามนางวันทอง
3. สำนวนของสุนทรภู่ มี 1 ตอน คือ
 3.1 กำเนิดพลายงาม
4. สำนวนของครูแจ้ง มี 5 ตอน คือ
 4.1 กำเนิดกุมารทอง
 4.2 ขุนแผนแก้พระท้ายน้ำ
 4.3 ขุนแผนและพลายงามจับพระเจ้าเชียงใหม่
 4.4 ขุนแผนและพลายงามยกทัพกลับ
 4.5 จระเข้เถรขวาด
12.    ขุนแผนนั้นเป็นตัวละครเอกในเรื่องนี้ เป็นผู้ที่มีความสามารถ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความกล้าหาญ เสียสละ แต่เจ้าชู้ รวมทั้งมีอาคม มีวิชาไสยศาสตร์ มีของวิเศษ 3 อย่าง คือ ดาบฟ้าฟื้น กุมารทอง และม้าสีหมอก ||พ่อเป็นทหารชื่อ ขุนไกรพลพ่าย แม่ชื่อ นางทองประศรี ได้บวชเณรและเรียนวิชาที่วัดส้มใหญ่ แล้วย้ายไปเรียนต่อที่วัดป่าเลไลย สุดท้ายไปเป็นศิษย์สมภารคง วัดแค จนมีความรู้ทางโหราศาสตร์ ปลุกผี อยู่ยงคงกระพัน คาถามหาละลวยทำให้ผู้หญิงรัก ตลอดจนวิชาจากตำรับพิชัยสงคราม ต่อมาสึกจากเณรแล้วแต่งงานกับนางพิมพิลาไลย ไม่นานก็ถูกเรียกตัวไปเป็นแม่ทัพรบกับเชียงใหม่ ครั้นได้ชนะกลับมาก็ได้เป็นขุนแผนแสนสะท้าน แต่ปรากฏว่าภรรยาแต่งงานใหม่แล้ว
ขุนแผนเจ้าชู้มากจึงมีภรรยาหลายคน คือ
1.       นางวันทอง                                   มีลูกด้วยกันคือ     พลายงาม
2.       นางลาวทอง                                
3.       นางแก้วกิริยา                               มีลูกด้วยกันคือ     พลายชุมพล
4.       นางสายทอง
5.       นางบัวคลี่                                      มีลูกด้วยกันคือ     กุมารทอง             
13. ควรรู้ว่าหาของวิเศษคือ ดาบฟ้าฟื้น กุมารทอง และม้าสีหมอกมาได้อย่างไร
14. ขุนช้างมีลักษณะนิสัยรักเดียวใจเดียวกับนางวันทอง ถึงแม้ขุนช้างจะเป็นคนที่มีฐานร่ำรวยสามารถมีภรรยาได้หลายคนแต่ขุนช้างก็ซื่อสัตย์และรักนางวันทองเพียงคนเดียว นิสัยอีกอย่างหนึ่งของขุนช้างคือนิสัยโหดร้ายเคยคิดจะฆ่าพลายงามให้ตาย    มีลักษณะรูปชั่วตัวดำ หัวล้านมาแต่กำเนิด นิสัยเจ้าเล่ย์เพทุบาย พ่อชื่อ ขุนศรีวิชัย แม่ชื่อ นางเทพทอง มีฐานะร่ำรวยมาก
15. นางวันทอง/พิมพิลาไลย เป็นหญิงรูปงาม เป็นสาวชาวบ้านจึงเป็นคนซื่อ ไม่ค่อยฉลาดเท่าใดนัก เป็นคนเจ้าคารมโวหาร ใช้ถ้อยคำประชดประชันเสียดสี ปากกล้า ปากจัด พ่อชื่อ พันศรโยธา แม่ชื่อ นางศรีประจัน ต่อมารได้แต่งงานกับพลายแก้ว มีลูกชายด้วยกัน คือ พลายงาม ครั้นพลายแก้วไปทำสงคราม นางก็ป่วยหนัก ขรัวตาจู วัดป่าเลไลย แนะนำให้เปลี่ยนชื่อเป็น นางวันทอง ต่อมานางถูกแม่บังคับให้แต่งงานใหม่กับขุนช้าง นางต้องถูกประณามว่าเป็นหญิงสองใจ เมื่อมีคดีฟ้องร้องถึงสมเด็จพระพันวษา และพระองค์ให้นางเลือกว่าจะอยู่กับใคร แต่นางตัดสินใจไม่ได้จึงถูกสั่งให้ประหารชีวิต
16.     พระพันวษาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ยุคนี้เป็นยุคที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง มีความอุดมสมบูรณ์ มีนิสัยโกรธง่าย แต่ก็นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความยุติธรรมต่อพวกทหาร เสนาอำมาตย์ และราษฎรพอสมควร เมื่อมีคดีฟ้องร้องกัน ก็จะให้มีการไต่สวน และพิสูจน์ความจริงกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข บรรดาประเทศใกล้เคียงก็อ่อนน้อม เพราะยำเกรงบารมี
17.    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงโปรดให้เหล่ากวีในพระราชสำนักแต่งขึ้นใหม่ รวมทั้งพระองค์ท่านเองทรงพระราชนิพนธ์ ตอน "พลายแก้วเป็นชู้กับนางพิมพ์" ตอน "ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง" และตอน "เข้าห้องแก้วกิริยาและพาวันทองหนี"
18.    รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชนิพนธ์ตอน "ขุนช้างตามวันทอง"
19.    บรมครูสุนทรภู่แต่งตอน "กำเนิดพลายงาม"
20.    ครูแจ้งในรัชกาลที่ 4 แต่งตอน "กำเนิดกุมารทอง" ตอน "ขุนแผน พลายงามแก้พระท้ายน้ำ" และตอน "ขุนแผน พลายงามสะกดเจ้าเมืองเชียงใหม่"
21.    อาจมีคำถามแบบว่า “ตอนใดไม่ได้มีผู้แต่งคนเดียวกับตอนที่นักเรียนเรียน” ก็คือพวกเราต้องจำให้ได้ว่า ร.๒แต่งตอนไหนบ้าง แล้วถ้าให้ดีก็จำของ ร.๓,สุนทรภู กับครูแจ้งด้วย เผื่อข้อสอบออก
22.    การขับเสภาเป็นการเล่าเรื่องประเภทหนึ่งโดยกำเนิดมาจากการเล่านิทาน เมื่อการเล่านิทานเริ่มแพร่หลายจึงได้แต่งเป็นกลอนใส่ทำนองโดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ
23.    การขับเสภาสันนิษฐานว่าเกิดในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
24.    จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(ร.๒)จึงมีวงปี่พาทย์ประกอบ เพราะโปรดการละครมากๆ แต่ตอนนั้นยังเป็นวงมโหรีปี่พาทย์วงเล็กอยู่
25.    เสภาทรงเครื่อง เกิดในยุครัชกาลที่ 4 โดยการขับเสภาประเภทนี้จะมีการร้องส่งให้ปี่พาทย์รับด้วย **ครูเน้นมาก อาจะสอบ
26.    ร.๔ โปรดฟังเสภาขณะที่ทรงเครื่องใหญ่มาก และจะชอบฟังเรื่องเสภาพระราชพงสาวดารของสุนทรภู่มากที่สุด
27.    เสภารำ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเสภารำนี้จะมีคนขับเสภาและปี่พาทย์(บางครั้งก็ใช้วงมโหรีแทน) มีตัวละครออกมาแสดงตามคำขับเสภา และมีการเจรจาตามเนื้อร้อง
28.    เมื่อถึง ร.๗ก็เริ่มหมดความนิยมในการฟังเสภา (น่าจะเป็นเพราะการเมือง)
29.    จำนวนคำในวรรค ของกลอนเสภาจึงค่อนข้างมาก มักมีตั้งแต่ ๗-๑๐ คำ (ต่างกับกลอนบทละครที่จะมี๖-๗คำในแต่ละวรรค)
30.    ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่ง ก็คือ ในแต่ละตอนมักนิยมขึ้นต้นด้วยคำว่า "ครานั้น" เมื่อขึ้นต้นตอนใหม่ หรือกล่าวถึงบุคคลใหม่  / "จะกล่าวถึง"
 และ “มาจะกล่าวบทไป”

(แต่กลอนบทละครจะใช้ “เมื่อนั้น” และ “บัดนั้น”
)
31.    กลอนเสภามีสัมผัสเหมือนกลอนบทละคร คือคำสุดท้ายของวรรคต้นส่งสัมผัสไปยังคำใดคำหนึ่ง ใน ๕ คำแรกของวรรคหลัง และไม่มี บังคับห้ามเสียงสูงต่ำ +/ กฎและลักษณบังคับอื่นๆจะเหมือนกลอนสุภาพ
32.    ข้อต่างกับนิราศคือ เสภาจะขึ้นต้นบทที่วรรคแรก แต่นิราศจะเริ่มที่วรรคสอง




33.    มีความแตกต่างระหว่างเรื่องรามเกียรติ์กับเรื่องขุนช้างข้นแผน (จากมุมมองของเรา
34.    เรื่องรามเกียรติ์มีเนื้อหาสมบูรณ์ครบถ้วนประกอบด้วยเรื่องน่ารู้ และแทรกด้วยเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นและเรื่องแทรกที่สนุกสนาน เสริมด้วยอารมณ์ขัน ทำให้เรื่องราวมีสีสันเหมาะสมกับการแสดงละคร ทั้งยังให้คติธรรมที่ว่า ธรรมย่อมชนะอธรรม และยกย่องความซื่อสัตย์ ความกตัญญู บทละครเรื่องนี้ได้รับความนิยมจากคนไทยทุกยุคทุกสมัยตัวอย่าง เป็นเรื่องของต่างประเทศที่ไทยเอามาปรับเปลี่ยน   
35.    เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน บางตอนมีผู้แต่งหลายคน แต่ละคนจะมีสำนวนเฉพาะตน  มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน (มิได้เน้นเรื่องราวของกษัตริย์)  นับได้ว่าเป็นเรื่องราวของคนไทยแท้ ๆ มิได้ดัดแปลงจากวรรณกรรมของชาติอื่น ตัวละครในเรื่องมีชีวิตจิตใจราวกับคนจริงๆ ที่มีชีวิตอย่างคนธรรมดาซึ่งมีทั้งทุกข์และสุข ความสมหวัง และความผิดหวัง
36.     แก่นสำคัญของเรื่องกล่าวถึงรักสามเส้าของขุนแผน ขุนช้าง และนางวันทอง การดำเนินเรื่องที่สนุกสนานตื่นเต้นสลับกับความเศร้ารันทด ขณะเดียวกัน ผู้อ่านผู้ฟังจะได้รับประโยชน์เกี่ยวกับค่านิยมของคนไทยในด้านไสยศาสตร์และโหราศาสตร์,ประเพณีต่างๆ, ลักษณะของชีวิตความเป็นอยู่และวิถีชีวิตในสมัยนั้น สำนวนภาษา คำคมที่จับใจ และสุภาษิต การใช้ภาษาในบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นตัวอย่างที่คนไทยยึดถือและจดจำได้อย่างขึ้นใจ
#ในหนังสือ#
1.       แนวความคิดของเรื่องนี้คือ : ถ้าถืออารมณ์เป็นใหญ่ ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี ย่อมเกิดผลร้ายตามมาอีกมากมาย
2.       แก่น: ความรัก, รักสามเส้าของหนุ่มสาว
3.       หน้าร้อนเปลี่ยวใจดังไฟฟาง....ยิ่งโหยหวน หน้า63 : เป็นการเล่นคำ อุปมา
4.       หน้า63 บรรยายสะท้อนสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านในสมัยอยุธยา
5.       อัจกลับ=ตะเกียง; น้องแก้วจะรำพึงคิดถึงผัว – พูดถึงนางลาวทอง
6.       ตอนท้ายเป็นบทที่ขุนแผนรำพึงคิดถึงนางลาวทอง
7.       ตอนนี้ขุนแผนอยู่บ้านที่กาญจนบุรี
8.       ค่านิยมสมัยนั้น หากแต่งงานกัน จะต้องย้ายไปอยู่บ้านเจ้าสาว ไปปลูกเรือนใหม่ในบริเวณบ้านเจ้าสาว ที่ขุนแผนจะไปสุพรรณ จะไปแก้แค้นขุนช้างนั้น คือไปบ้านนางวันทองนั่นเอง
9.       นางทองประศรีไม่เห็นด้วยที่ขุนแผนจะไปเอาแก้แค้นขุนช้างเรื่องนางวันทอง บอกว่า นางวันทองไม่มีค่าพอให้มาเสี่ยง บอกว่ายังมีผู้หญิงดีๆกว่านางอีกตั้งเยอะ เปรียบนางเหมือนแหวนเพชรที่แตกไปแล้ว ไม่เหมาะที่จะเอามาแต่งบ้าน คือนางวันทองเป็นผู้หญิงไม่ดี จะเอามาเชิดหน้าชูตาก็ไม่ได้
10.    นางสายทองเป็นพี่เลี้ยงของนางวันทอง
11.    ...ลูกจะฟันให้เป็นภัสม์ธุลีลงฯ=ฟันให้เป็นขี้เถ้า เป็นอวพจน์ เกินจริงในด้านน้อย
12.    ย่อหน้าที่๒ +สองบรรทัดบน หน้า65 แสดงถึงค่านิยมเรื่องบุพการีเป็นพระในบ้าน เชื่อว่าถ้าแม่ให้พรจะช่วยคุ้มครองให้ปลอดภัย
13.    ประทักษิณ=วนรอบแม่ทางขวา3รอบ : ผู้อยู่ไม่มีภัย อยู่ไปไม่มีภัย เกิดสวัสดิมงคลทั้งสองฝ่าย
14.    “ขึ้นหอพระนารายณ์ระงับจิต...” = ห้องพระ(ของบ้านขุนแผนน่าจะใหญ่แบบจัดเต็ม)
15.    ตั้งแต่เริ่มขึ้นหอพระจนลงบันไดไปขึ้นม้าสีหมอก เป็นเสาวรจนีย์ ;  และยังแสดงความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์และของขลัง  คือ ฝนว่านเสน่ห์จันทน์ผสมน้ำมันทาตัว, เสื้อตัวในเป็นเสื้อจากผ้ายันลงคาถาอาคม, แหวนถักพระพิรอด, สังวาลถักด้วยผมพราย, ฯลฯ
16.    ได้มหาสิทธิโชค=ได้ฤกษ์ดี  // ผีหลวง=ทิศอัปมงคล //กาละไทย=เวลาอัปมงคล
17.    บ้านขุนช้าง@สุพรรณ อยู่ที่ บ้านพลับ
18.    พอใกล้บ้านขุนช้าง ก็ทำศาลเพียงตา ไหว้เจ้าที่ เพราะมาต่างบ้านต่างเมือง และขอให้แก้แค้นขุนช้างสำเร็จ
19.    ลักษณะบ้านคนรวยสมัยนั้น รอบนอกสุดจะเป็น ลานโล่งๆ1 เพื่อเวลามองออกมาจากในบ้านจะได้เห็นชัด โจรเข้ามาก็เห็น ไม่มีที่ให้ซ่อน ชั้นต่อมาเป็น พราย 2 ที่ขุนช้างเลี้ยงไว้เพื่อป้องกันคนแปลกหน้า ชั้นต่อไปเป็น คูน้ำ3 พอเข้ามาในบ้านก็ยังมี คนนั่งยาม4 คอยเฝ้าอยู่รอบๆบ้าน เมื่อผ่านประตูมาได้แล้ว ก็ยังเจอยามอีกชั้นนึ่ง ผ่านประตูอีกชั้นก็เจอ สวนดอกไม้/สวนหย่อม ที่อยู่หน้าชาน ในเรือนเป็นห้องใหญ่ๆ จึงต้องใช้ฉากกั้นมากั้นให้เป็นห้องเล็กๆ
20.    ขุนแผนร่ายมนต์+ใช้พราย สะกดให้คนทั้งเรือนหลับ ไล่ขวัญ ถ้าขวัญหนีจะทำให้ไม่รู้สึกตัว,ไม่สบาย
21.    ย่อหน้าที่๒หน้า68 ให้จินตภาพทั้งได้กลิ่น ได้สัมผัส ได้สบายใจ และได้มองเห็นพรรณนาได้ไพเราะ ละเอียดลออ ทำให้รู้สึกสัมผัสตามไปด้วย ตรงปลาทองในอ่างให้ภาพเคลื่อนไหวชัดเจน เป็นธรรมชาติ ถัดจากนั้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นระเบียบของขุนช้าง และของใช้ต่างๆก็มีทองผสมอยู่แสดงให้เห็นถึงความร่ำรวยของขุนช้าง
22.    บาบรรยายห้องนางแก้วกิริยา แสดงให้เห็นถึงความเป็นระเบียบ มีเชี่ยนหมากที่ดูไฮโซกว่าชาวบ้านทั่วไป(รูปแบบของเชี่ยนหมากสามารถบอกฐานะของเจ้าของได้)
23.    นางแก้วกิริยา มีความกตัญญู รักนวลสงวนตัว และซื่อสัตย์  เป็นลูกของพระยาสุโขทัย กับนางเพ็ญจันทร์ พ่อพานางมาขายฝากให้เป็นทาส/ทาสสินไถ่ของขุนช้าง ขุนช้างนึกเอ็นดูจึงเลี้ยงนางไว้เป็นเหมือนน้องสาว // ก่อนจากกันขุนแผนมอบแหวนให้นางไว้ดูต่างหน้าและให้เงินไปไถ่ตัวกับขุนช้าง ตลอดเวลานางเป็นภรรยาที่ดีและซื่อสัตย์ต่อขุนแผนเสมอ ยามที่ขุนแผนมีเคราะห์ต้องโทษถึงจำคุก นางก็ตามไปคอยปรนนิบัติดูแลอยู่จนพ้นโทษซึ่งกินเวลาถึง ๑๕ ปีนางมีลูกชายกับขุนแผน  คือ พลายชุมพล 
24.    หน้า๖๙บรรทัดสุดท้าย-บรรทัดแรกหน้า๗๐ เต่าเตี้ยดอกอย่าต่อให้ตีนสูง  มิใช่ยุงจะมาย้อมให้เห็นขัน  หิ่งห้อยหรือจะสู้แสงพระจันทร์ อย่าปั้นน้ำให้หลงตะลึงงัน = โวหารสัญลักษณ์ +สำนวน ปั้นน้ำให้เป็นตัว
25.    4ตำลึง=1บาท, 4บาท=1ตำลึง, 20ตำลึง=1ชั่ง =>นางแก้วมีค่า15ตำลึง=60บาท
26.    หน้า๗๐/ ...อย่าด่วนชิงเชิญงดให้งามหน้า อย่าให้น้องหมองสัตย์ที่สัญญา  เชิญไปว่ากับคุณพ่อแต่พอควร = นางแก้วขอให้ขุนช้างเข้าตามตรอกออกตามประตู
27.    เจ้าเนื้อเหลือง=แสดงค่านิยมคนสมัยนั้น ผู้หญิงสวยต้องมีผิวสีน้ำผึ้ง
28.    หน้า๗๑ย่อหน้าแรก/ ใช้สัญลักษณ์ แทนการบรรยายฉากเลิฟซีน
29.    ฉากในห้องของนางวันทองมีสามชั้น ชั้นแรกบรรยายถึงป่าหิมพานต์ 1 มีธรรมชาติ ต้นไม้ ดอกไม้สวยงาม สัตว์ต่างๆออกมาเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน มีนกยูง ชะนี กินนรี คนธรรพ์ วิทยาธร มังกรล่อแก้ว ; = ชื่อเขา วินันตก หัสกัน การวิก อิสินธร ยุคนธร ; มุจลินท์=ต้นจิก,ชื่อบ่อน้ำ
ชั้นที่สองเรื่องลิลิตพระลอ
2 พระลอทิ้งแม้ทิ้งเมียทิ้งเมือง ไปหาพระเพื่อนพระแพงสะท้อนสิ่งที่ขุนแผนทำไว้กับนางวันทอง คือทิ้งนางวันทองไปอยู่กับนางลาวทอง ; เมืองสรวง(ของพระลอ), เมืองสอง(เมืองพระเพื่อนพระแพง) //..กลุ้มกลัดตัดท่านสะบั้นลง ฉีกฉะหวะลงแล้วเหวี่ยงไป... ให้นาฏการ+โวหารสัตพจน์

ชั้นสุดท้ายเป็นเรื่องคาวี
3 (คาวีเป็นพระราชนิพนธ์ของ ร.๒ / /ร.๒แต่งตอนนี้ = ร.๒เอาวรรณคดีของตัวเองมาแทรกในเรื่องนี้ด้วย) เป็นตอนนางผมหอมหรือนางจันทร์สุดา (เปรียบกับนางวันทอง)โดนเฒ่าทัศประสาท(เปรียบกับนางศรีประจัน)ลวงเอาไปถวายเจ้าเมืองพันธวิไสยคือท้าวสันนุราช(เปรียบกับขุนช้าง) สะท้อนว่านางไม่ได้อยากมาเป็นเมียขุนช้างเลย แต่โดนนางศรีประจันบังคับให้มา // ...สับบั่นหั่นย่อยลงร้อยทบ  ฟันตลบม่านมุ้งไม่เป็นส่ำ..= เกินจริง...น่าจะอธิพจน์
30.    หน้า๗๔// กระเบนกรางหน้าผากไม่อยากเจ็บ=ไม่รู้จักเจ็บอาย,หน้าด้าน
31.    ...ดังดวงแก้วไปได้กับวานร...= สัญลักษณ์
32.    ตละแปลว่าเหมือน วรรคไหนมีคำว่า”ตละ” จะเป็นอุปมา
33.    ตั้งแต่ ”จับหัวขุนช้างขอดตลอดขวัญ...” จะเป็นการที่ขุนแผนแกล้งขุนช้างเพื่อเป็นการแก้แค้น // ...เขียนเขียนแล้วก็หยุดยืนหัวร่อ  ถีบตกเตียงคว่ำดำมอซอ...แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ขันของขุนแผน
34.    หน้า๗๖//...นิจจาเจ้าวันทองน้องพี่อา  พี่จำหน้าเนื้อน้องได้ทุกแห่ง...จนถึง...พี่เคี้ยวหมากเจ้าอยากพี่ยังคาย... (+แขนซ้ายคอดแล้วเพราะหนุนนอน=อธิพจน์=บอกว่านอนหนุนแขนกันทุกคืนจนแขนพี่คอดหมดแล้ว) แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและแนบแน่นของขุนแผนและนางวันทอง
35.    กอดท่อนซุงสักสำคัญคน=สัญลักษณ์=เปรียบขุนช้างเป็นท่อนซุง,ไม่ใช่ไม้ธรรมดาแต่เป็นไม้สักที่มีราคาแพง
36.    บทตั้งแต่ที่นางวันทองรู้ตัวว่าขุนแผนอยู่ในห้อง และเริ่มพูดต่อปากต่อคำ,ประชดประชันกัน => ได้รับการยกย่องว่าเป็นบทที่มีการโต้ตอบกันอย่างเด่นชัดและไพเราะ, มีโวหารในการเจรจาที่ไพเราะและคมคายที่สุด
37.    ...ที่แท้ถังดอกหาใช่สัดไม่ : ถังมีความจุแค่20ทะนาน แต่สัดมีความจุ25ทะนาน คือสัดใหญ่กว่าถึง=บอกว่าคำพูดของขุนแผนไม่จริงใจ ไม่ซื่อสัตย์
38.    น้ำลายคายขากจากปากไป กลับกล้ำกลืนได้เจ้าดีจริง=อุปลักษณ์;กลืนน้ำลายตัวเอง
39.    ....ยังขืนดื้อถือปัดว่าดวงแก้ว=เห็นลูกปัดเป็นแก้วมณี=เห็นขุนช้างมีค่า
40.    ...ในตัวล้วนแต่ชั่วไม่มีดี  จี้ไชไค้แคะแกะเลือดปู=รีดเลือดจากปู=วันทองประชดว่าทุกอย่างๆที่นางทำขุนแผนก็เห็นว่าผิดไปหมด
41.    ...นี่อดน้ำแล้วสิเลี้ยวมากินตมฯ...=อุปลักษณ์=ประชดว่านางลาวทองหนีไปแล้วสิท่า จึงกลับมาคิดถึงเมียเก่าอย่างนาง
42.    หน้า๗๘มีเรื่องกากีแทรก=...เจ้าปักษีขุนช้างพานางเหาะ  พี่เหมือนคนธรรพ์สรรจำเพาะ  อย่าฉอเลาะเลยเจ้าจะคืนวัง...=เจ้าปักษีเอานางกากีมาคืนท้าวพรหมทัต แต่ขุนแผนจะไม่มีวันปล่อยให้นางวันทองกลับมาหาขุนช้าง
43.    ...ขาดเม็ดเด็ดเรือไม่เผื่อคิด...จนถึง...เมื่อพี่จนแล้วจะไล่แต่รายโคน...=ขุนแผนเปรียบการสนทนานี้กับการเล่นหมากรุกว่า เขาโดนนางวันทองไล่จนจนมุม, ได้ทีก็ซ้ำเติมจนตั้งตัวไม่ติด
44.    ...อัปลักษณ์เหมือนนิยายเขาเล่นโขน...=เอารามเกียรติ์มาแทรก ว่าวันทองก็เหมือนกับนางสีดาที่โดนคนลักพาตัวมาจากพระราม แต่ถ้านางวันทองมีนิสัยเหมือนนางสีดาซักนิดก็คงไม่ว่า นี่เล่นเป็นชู้กับขุนช้างแล้วยังเป็นห่วงจะปลุกให้ตื่นอีก แทนที่จะเป็นห่วงว่าถ้าขุนช้างตื่นมาเห็นขุนแผนในห้องจะมาฆ่าขุนแผน=ประชด ตัดพ้อ ,ด่านางวันทองเป็น”หญิงสามร้อยกลมารยา”
45.    10บรรทัดสุดท้ายของหน้า๗๘ต่อไปถึงหน้า๗๙ เป็นบทประชดประชัน ตัดพ้อของนางวันทอง มีความสะเทือนอารมณ์อย่างมาก ใช้ถ้อยคำหยาบคาย เสียดสี ต่อว่า ; ไม่อยากให้ขุนแผนมายุ่งกับชีวิตของนางแล้ว(ถึงจะรักขุนแผนแต่ขุนแผนทำให้นางเจ็บปวด ขณะที่ขุนช้างรักและซื่อสัตย์กับนางแค่คนเดียว) บอกว่านางเป็นของเหลือขุนช้าง อย่ามายุ่งให้มัวหมองเลย, ถ้ากลับมาหาแค่เพราะขาดผู้หญิงไม่ได้ นางจะหาใหม่ให้ เลือกมาได้เลย แต่ขอแค่อย่ามายุ่งกับนางอีกเพราะนางเป็นหญิงไม่ดี
46.    ตัวดิ้นแต่ใจไม่แหห่าง=ปากอย่างใจอย่าง=ว่านางวันทอง
47.    บทสุดท้ายหน้า๘๐ ทีแรกบอกว่าไม่เป็นไร ถึงวันทองจะมีมลทินก็ไม่ถือ แต่ในวรรคสุดท้ายกลับพูดขู่ว่าถ้าไม่ยอมไปดีๆจะฆ่านาง=เหมือนจะสับสนมากไปนะ??
48.    หน้า๘๒ สมบัติที่นางวันทองเอาไปด้วย: ผ้าไหม, ผ้าที่อบให้หอม, ผ้าเช็ดหน้าของฝรั่ง, เครื่องประดับ, ทอง เพชร นิล มรกต, แหวนพิรอด(ต่างกับแหวนถักของขุนแผน ; แหวนของวันทองเป็นแบบที่มีพลอยทั้ง9สีประดับอยู่บนแหวน
49.    เครื่องเส้นไหว้ผีพรายมี พล่าเต่า ยำปลา เป็ด ไก่ เหล้า ของหวาน เทียนเงิน เทียนทอง =แสดงความเชื่อเรื่องผีบ้านผีเรือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น